Hot News :
Super User

Super User

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ ประกาศใช้แผนอัตรากำลัง 2 ปี ประจำปีงบประมาณ (2564 - 2566)  ปรับปรุ่งครั้งที่ 1 ประกาศ ณ วันที่  7  เมษายน  2564

 ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ มีความประสงคืจะประกาศขายทอดตลาดพัสดุที่ชำรุด เสื่อมสภาพ โดยวิธีประมูลด้วยวาจา (ปากเปล่า)

ผู้ที่สนใจติดต่อขอรับเอกสารได้ที่ กองคลังองคืการบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ  ในวันที่ 19 -30 เมษายน  2564  เวลา 08.30 น. -16.30 น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://www.nong-bo.go.th/ หรือโทร 045-905280  ในวันและเวลาราชการ

วันจันทร์, 01 มีนาคม 2564 15:06

ITA (แบบวัด OIT) ประจำปีงบประมาณ 2564

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment: ITA)
แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ OIT ประจำปีงบประมาณ 2564
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย (33 ข้อมูล) ดังนี้
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน

O1 โครงสร้าง

O2 ข้อมูลผู้บริหาร

O3 อำนาจหน้าที่

O4 แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาหน่วยงาน

O5 ข้อมูลการติดต่อ

O6 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การประชาสัมพันธ์

O7 ข่าวประชาสัมพันธ์

การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล

O8 Q&A

O9 Social Network

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน
การดำเนินงาน

O10 แผนดำเนินงานประจำปี

O11 รายงานการกากับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน

O12 รายงานผลการดำเนินงานประจำปี

การปฏิบัติงาน

O13 คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน

การให้บริการ

O14 คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ

O15 ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ

O16 รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ

O17 E–Service

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี

O18 แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี

O19 รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือน

O20 รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี

การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ

O21 แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดหาพัสดุ

O22 ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง/การจัดหาพัสดุ

O23 สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง/การจัดหาพัสดุ ประจำเดือน

O24 รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง/การจัดหาพัสดุ ประจำปี

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

O25 นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

O26 การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

O27 หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

O28 รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

O29 แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

O30 ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

O31 ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

O32 ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น

O33 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย (33 ข้อมูล) ดังนี้
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร

O34 เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร

O35 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร

การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต

O36 การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี

O37 การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต

การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

O38 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

แผนป้องกันการทุจริต

O39 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต

O40 รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน

O41 รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี

ตัวชี้วัดย่อย 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน

O42 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

O43 การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

วันพฤหัสบดี, 01 สิงหาคม 2567 15:53

หน่วยตรวจสอบภายใน

หน่วยงานตรวจสอบภายใน

นายถาวร ดีงาม

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล


พนักงานส่วนตำบล

นางถิรนันท์ นิชรัตน์

นักวิชาการตรวจสอบภายในชำนาญการ

วันพฤหัสบดี, 01 มิถุนายน 2566 19:48

กองสวัสดิการสังคม

กองสวัสดิการสังคม

นางสาวโชติมา สิงห์เรือง

ผู้อำนวนการกองสวัสดิการสังคม
มือถือ 094-3495448

พนักงานส่วนตำบล

นางสาววัชรี ศรีวรรณ

นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ

วันจันทร์, 01 มีนาคม 2564 08:30

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง

      ตำบลหนองบ่อ อยู่ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามถนนแจ้งสนิท หลักกิโลเมตรที่ 9 บ้านหนองแก ผ่านบ้านทุ่งขุนน้อย ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี หรือหลักกิโลเมตรที่ 13 บ้านหนองไฮ ผ่านบ้านเชือก ตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี เข้าสู่เขตตำบลหนองบ่อ ระยะทาง ประมาณ 20 กม.

เนื้อที่

      ตำบลหนองบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 48,750 ไร่ หรือประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอกัณทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ประชากร

      จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลหนองบ่อ มีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,641 คน แยกเป็นชาย 3,748 คน หญิง 3,893 คน จำนวนครัวเรือน 1,761 หลังคาเรือน

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ประชากร ครัวเรือน
1 หนองบ่อ 672 207
2 หนองบ่อ 399 155
3 หนองบ่อ 664 155
4 หนองบ่อ 874 284
5 มะเขือ 589 314
6 โพนงาม 797 278
7 โพนงาม 930 308
8 ดงบัง 1,181 408
9 ดงบัง 499 170
10 จานตะโนน 623 239
11 จานตะโนน 344 337
12 สำลาก 565 253
13 ท่าสนามชัย 654 259

      ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2561)

อาชีพ

      อาชีพหลักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน ปลูกพืชส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว ตลอดจนเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป หัตถกรรมในครัวเรือน

หน่วยธุรกิจ

  1. ปั๊มน้ำมันหลอด 59 แห่ง
  2. โรงสีข้าว 8 แห่ง
  3. สถานที่ท่องเที่ยว 2 แห่ง

การศึกษา

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 10 แห่ง
  2. โรงเรียนประถมศึกษา 11 แห่ง
  3. โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) 5 แห่ง
  4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 21 แห่ง
  5. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง
  6. ศูนย์สงเคราะห์ราษฎร 21 แห่ง

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

  1. วัด/สำนักสงฆ์ 20 แห่ง

สาธารณสุข

  1. สถานีอนามัย 2 แห่ง
  2. อัตราการมี และการใช้ส้วมราดน้ำ 100%

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  1. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 แห่ง

การโทรคมนาคม

  1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอนุญาตเอกชน 1 แห่ง
  2. ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 10 แห่ง

การไฟฟ้า

  1. มีไฟฟ้าเข้าถึง 21 หมู่บ้าน ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน

แหล่งน้ำธรรมชาติ

  1. ลำน้ำ/ลำห้วย 15 สาย
  2. บึง/หนองน้ำและอื่น 6 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  1. ฝาย 12 แห่ง
  2. บ่อโยก 1 แห่ง

มวลชนจัดตั้ง

  1. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 2 รุ่น
วันจันทร์, 01 มีนาคม 2564 23:02

ถาม-ตอบ Q&A

  • ถาม : เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกวันไหนค่ะ ?
  • ตอบ : ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือนคะ
  • ถาม : ชำระภาษีโรงเรือนช่วงพักเที่ยงได้ไหมครับ ?
  • ตอบ : ได้ค่ะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ไม่พักกลางวันค่ะ
  • ถาม : สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้รึยังค่ะ ?
  • ตอบ : เปิดให้บริการแล้วคะ
  • ถาม : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Service) คืออะไร ?
  • ตอบ : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ คือ การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหน่วยงานจัดว่าเป็นระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ครอบคลุมถึงการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอกหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร และมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานท่านหรือไม่

ความหมายของ "การจัดการความรู้" (Knowledge Management: KM)

      การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management” คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็ นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภา พ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (อ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.ร.)

      KM ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่างๆ ได้ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )

ความหมายและรูปแบบของความรู้

      ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา (ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ

      1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฏระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม

      2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่า ง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม

การกำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการจัดการความรู้

      ก่อนที่จะมี จัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้าง ๆของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริห ารราชการแผ่นดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ

แนวทางการตัดสินใจเลือกขอบเขต KM

      การตัดสินใจเลือกขอบเขต KM อาจใช้แนวทางต่อไปนี้ มาช่วยในการตัดสินใจว่า ขอบเขต KM ใดที่องค์กรจะคัดเลือกมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร เช่น

  1. ความสอดคล้องกับทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับของหน่วยงานต นเอง
  2. ทำให้เกิดการปรับปรุงที่เห็นได้ชัดเจน หรือเป็นรูปธรรม
  3. มีโอกาสทำได้สำเร็จสูง (โดยพิจารณาจากความพร้อมด้านคน งบประมาณ เทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร ระยะเวลาดำเนินงาน ฯลฯ)
  4. เป็นเรื่องที่ต้องทำ คนส่วนใหญ่ในองค์กรต้องการให้ทำ
  5. เป็นเรื่องที่ผู้บริหารให้การสนับสนุน
  6. เป็นความรู้ที่ต้องนำมาจัดการอย่างเร่งด่วน
  7. แนวทางอื่น ๆ ที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม

กระบวนการจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้

      กระบวนการจัดการความรู้ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. และสถานบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เสนอให้ส่วนราชการนำมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ และสอดคล้องกับขอบเขตและเป้าหมาย KM ขององค์กร มี 2 แนวคิด คือ

  1. แนวคิดเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)
  2. แนวคิดเรื่องกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)

1. แนวคิดเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

      เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำ ให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การบ่งชี้ความรู้ คือ การค้นหาและระบุให้ได้ว่า การที่องค์กรจะบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ขององค์กร และ คนในองค์กรจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง ขณะนี้มีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด เช่น อยู่ในเอกสาร ฐานความรู้ หนังสือเวียน หรือในตัวบุคคล และอยู่ที่ใครบ้าง เป็นต้น
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้ โดยการสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นต่อองค์กร การแสวงหาความรู้จากภายนอกองค์กร ( องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการเป็นพิเศษ) การรักษาความรู้เก่าที่มีอยู่และยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ตลอดจนการกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว เป็นต้น
  3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวางโครงสร้างความรู้ในองค์กรเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บค วามรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงเอกสาร โปรแกรมการจัดเก็บเอกสารให้เป็นมาตรฐาน โดยใช้รูปแบบและเนื้อหาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมา กขึ้น
  5. การเข้าถึงความรู้ คือ การกำหนดรูปแบบและวิธีการที่จะทำให้คนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การทำหนังสือเวียน การจัดทำ Website Web Board เป็นต้น
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การที่คนในองค์กรนำความรู้ที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนกัน ทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้ เช่น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ Intranet หรือในรูปแบบที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การจัดทีมข้ามสายงาน การจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม การจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ การใช้ระบบพี่เลี้ยงเพื่อสอนงาน การสับเปลี่ยนสายงาน การยืมตัว และการจัดเวทีความคิดเห็น เป็นต้น
  7. การเรียนรู้ คือ การที่คนในองค์กรนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาในรูปแบบและวิธีการต่ าง ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยมีการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในองค์กร

2. แนวคิดเรื่องกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)

      เป็นกรอบแนวคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภ ายในองค์กร ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. การเตรียมความพร้อมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในองค์ก ร คือ ก ารเน้นให้ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการความรู้ การแก้ไขกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่น การสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น และการส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น การประกาศนโยบายการจัดการความรู้ให้ทุกคนทราบ เป็นต้น
  2. การสื่อสาร เพื่อทำให้ทุกคนในองค์กรอยากให้ความร่วมมือในการจัดการความรู้ใ นองค์กร โดยการเน้นทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน และแต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง เช่น จดหมายเวียน E-Mail Intranet เป็นต้น
  3. กระบวนการและเครื่องมือ เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ในองค์กร และสามารถเข้าถึง ค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็วมากขึ้น โดยเน้นการพิจารณาความเหมาะสมกับชนิดของความรู้ ลักษณะขนาดสถานที่ตั้งองค์กร ลักษณะการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น หากเป็นความรู้ที่เป็นเอกสาร จับต้องได้ อาจใช้หนังสือเวียน หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ แต่ถ้าหากเป็นความรู้ที่ต้องใช้ประสบการณ์ หรือใช้ประสาทสัมผัส อาจใช้การสอนงานระหว่างทำงาน หรือประสบการณ์โดยตรงเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ เป็นต้น
  4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจั ดการความรู้ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องเกี่ยวกับการกำหนดเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ และการประเมินผลและการปรับปรุงการฝึกอบรม / การเรียนรู้ ซึ่งตัวอย่างหลักสูตร ได้แก่ KM Implementation ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (COP) การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม การใช้ IT เป็นต้น
  5. การวัดผล เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และนำผลของการวัดมาปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น ตลอดจนนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็น ประโยชน์ของการจัดการความรู้
  6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องด้านความต้องการของบุคลากร แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว การบูรณาการกับระบบที่มีอยู่ การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา

แผนการจัดการความรู้ ... กุญแจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ในองค์กร

      แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) เป็นแผนงานที่แสดงถึงรายละเอียดการดำเนินงานของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย (Desire State) ที่กำหนด

ขั้นตอนการจัดทำแผน KM

      (อ้างอิงจากคู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้ โดย สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ)

  1. องค์กรจะต้องมีการกำหนดขอบเขตการจัดการความรู้ หรือ ขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM (Desire State) ที่องค์กรต้องการเลือกทำ และต้องการจัดการความรู้ที่จำเป็นต้องมีในกระบวนงาน (Work Process) เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
  2. เมื่อองค์กรได้ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM (Desired State)แล้ว ให้นำหัวข้อเป้าหมาย KM ที่องค์กรต้องทำ มาจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) โดยการจัดทำแผนจะขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรที่ทำให้เป้าหมา ย KM บรรลุผลสำเร็จ โดยการประเมินองค์กรของตนเองก่อนจัดทำแผน KM
  3. การประเมินองค์กรของตนเองเรื่องการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงความพร้อม (จุดอ่อน - จุดแข็ง / โอกาส - อุปสรรค) ในเรื่องการจัดการความรู้ และนำผลการประเมินดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการจัดทำแ ผน KM ให้ สอดรับกับเป้าหมาย KM ที่เลือกไว้ โดยองค์กรสามารถเลือกวิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการ ความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กร ได้ดังนี้
    1. ใช้วิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ KMAT (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT) ซึ่งเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเร ื่องการจัดการความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง โดยเครื่องมือนี้แบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
      • หมวด 1 กระบวนการจัดการความรู้
      • หมวด 2 ภาวะผู้นำ
      • หมวด 3 วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้
      • หมวด 4 เทคโนโลยีการจัดการความรู้
      • หมวด 5 การวัดผลการจัดการความรู้
    2. ใช้วิธีอื่น ๆ ในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ เช่น แบบสอบถาม รายงานผลการวิเคราะห์องค์กร เป็นต้น

          การประเมินองค์กรตนเองดังกล่าว จะต้องเป็นการระดมสมองกันภายในองค์กรเอง โดยอย่างน้อยจะต้องมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามขอ บเขต KM และเป้าหมาย KM เข้าร่วมการประเมินองค์กรด้วย

          ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินตนเองเรื่องการจัดการความรู้ จะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ซึ่งจะทำให้การจัดทำแผนการจัดการความรู้สามารถสอดรับกับผลลัพธ์ ที่ได้จากการประเมิน และส่งผลให้เป้าหมาย KM บรรลุผลสำเร็จตามแผนที่กำหนด

  4. นำผลการประเมินตนเองที่ได้ มาจัดทำแผนการจัดการความรู้ หรือ แผน KM ตามกระบวนการจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยให้ระบุถึง
    1. กิจกรรมต่าง ๆ ตาม กระบวนการจัดการความรู้ (7ขั้นตอน) และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (6 องค์ประกอบ)
    2. วิธีการสู่ความสำเร็จ
    3. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    4. เป้าหมาย
    5. วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้
    6. งบประมาณดำเนินการ
    7. ผู้รับผิดชอบการดำเนินการ

          ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดทำ แผนการจัดการความรู้ โดยมีการกำหนดขอบเขต KM หรือกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ดังนี้

    แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มุ่งเน้นการจัดการความรู้เกี่ยวกับ

    1. "การส่งเสริม อปท. ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับแผนชุมชน"

    แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มุ่งเน้นการจัดการความรู้เกี่ยวกับ

    1. "การส่งเสริม อปท. ในการดำเนินการตามโครงการจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน"
    2. "การตรวจติดตามการจัดระบบควบคุมภายในของ อปท. ตามระเบียบ คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง"

ตัวอย่าง ***การดำเนินการการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553

วันพุธ, 18 ตุลาคม 2566 12:48

ศูนย์บริการร่วม

      พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 30 กำหนดให้กระทรวงจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย หรือกฎอื่นใด ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว

      จากแนวคิดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centered) และมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุดของผู้มาใช้บริการ โดยแนวทางหนึ่งนั้น ได้แก่ การนำเสนอเอารูปแบบศูนย์บริการร่วม (Service Link) มาใช้บริการประชาชน ในเรื่องต่างๆ ของหน่วยงานราชการนั้นๆ

      ศูนย์บริการร่วม ได้จัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 30 กำหนดให้กระทรวงจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยการปรับปรุงการบริการของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และสนองตอบต่อความต้องการของประชนยิ่งขึ้น สำหรับรูปแบบ ศูนย์บริการร่วม มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ขอบเขต และองค์ประกอบ ของแต่ละหน่วยงานราชการ

      “ศูนย์บริการร่วม” คือ หน่วยให้บริการประชาชน ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง โดยความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) และหน่วยงานภาคเอกชน นำงานบริการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งที่มีและไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาร่วมให้บริการ ณ จุดบริการเดียว พร้อมทั้งมีการจัดระบบงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง สามารถปฏิบัติงานให้บริการแทนกันได้ ณ ศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สามารถขอรับบริการได้หลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสอบถาม การขอทราบข้อมูล/ข่าวสาร การยื่นเรื่อง และการขออนุญาต หรือการขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกันโดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว

      “ศูนย์บริการร่วมสถานที่ราชการ หรือเรียกว่า ศูนย์บริการร่วม” เป็นหน่วยให้บริการประชาชนที่มีสถานที่ให้บริการตั้งอยู่ในสถานที่ราชการ โดยนำงานบริการที่หลากหลาย มีขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน หรือต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในหลายหน่วยงาน ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือในพื้นที่เดียวกัน แต่ต่างอาคาร หรือต่างชั้น มารวมให้บริการ ณ จุดเดียว เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ทั้งนี้ ศูนย์บริการร่วม อาจให้บริการเฉพาะในเวลาราชการ หรือทั้งในและนอกเวลาราชการก็ได้

การนำกระบวนงานตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กระทรวงมหาดไทยได้แนะนำให้ลดระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน จำนวน 17 กระบวนงาน และกระบวนงานเพิ่มเติม มาให้บริการ ณ ศูนย์บริการร่วม

  1. จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
  2. จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  3. จัดเก็บภาษีป้าย
  4. ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
  5. สนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค
  6. ช่วยเหลือสาธารณภัย
  7. รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
  8. แจ้งเกิด
  9. แจ้งตาย
  10. ย้ายที่อยู่
  11. กำหนดเลขที่บ้าน
  12. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (ครั้ง
  13. แรก)
  14. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (บัตรเดิมหมดอายุ)
  15. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  16. การขออนุญาตจดตั้งตลาด
  17. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
  18. การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาถารณะ
  19. การรับขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ รายใหม่
  20. การรับแจ้งและยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณถัดไป

กระบวนงานเพิ่มเติม จำนวน 2 กระบวนงาน

  1. การรับขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ รายใหม่
  2. การรับแจ้งและยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณถัดไป
วันพุธ, 18 ตุลาคม 2566 09:39

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

      ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่สื่อความหมายให้ทราบถึงเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง เรื่องใดโดยในความหมายนี้เน้นที่การสื่อความหมายเป็นหลัก มิได้เน้นที่รูปร่างหรือรูปแบบของความเป็นข้อมูลข่าวสาร กล่าวคือ สิ่งที่เป็นข้อมูลข่าวสารได้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปร่าง หรือรูปแบบของกระดาษที่มีข้อความหรือแฟ้มเอกสาร แต่หมายความรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปรากฏให้เห็นเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง และสิ่งอื่นๆที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจและรู้ความหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นโดยสภาพขอสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านกรรมวิธีใดๆ เช่น ประจุไฟฟ้าแม่เหล็ก ฟิล์ม ไมโครฟิล์ม รูปภาพ เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ คอมพิวเตอร์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมดูแล ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในบังคับแห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

      ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” จึงให้ความสำคัญต่อลักษณะหรือสิทธิในการยึดถือข้อมูลข่าวสารนั้นว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือเกี่ยวข้อกับบุคคลหรือเอกชนใดๆ ก็ได้

ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร ?

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดวิธีในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารไว้ 4 วิธี ดังนี้

   1.) เปิดเผยโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการสร้างและการจัดการองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูล ข่าวสาร กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

   2.) เปิดเผยโดยการตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความหมายที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4) แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการคู่มือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน สิ่งพิมพ์ที่ได้อ้างถึง มาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็น การผูกขาด ตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

   3.) เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น

   4.) การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาค้นค้าเป็นการทั่วไป

เมื่อได้ทราบถึงวิธีการเปิดเผยทั้ง 4 วิธี ดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ สรุปได้ดังนี้

   1.) โดยการตรวจค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา สำหรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   2.) โดยการใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   3.) โดยการไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ที่จัดกับหรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป

   4.) โดยการใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์”

“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่าอย่างไร?

      “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เป็น “สิ่งเฉพาะตัว” ของบุคคล ไม่ว่าในแง่มุมใด เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติ สุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน เป็นต้น

      ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลยัง ไม่ถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีสิ่งบ่งชี้ตัวบุคคลด้วยว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นของบุคคลใด โดยอาจเป็น รหัส หมายเลข รูปถ่าย หรือ สิ่งบ่งชี้อย่างอื่นก็ได้

      โดยปกติคนเราจะมีความเป็นอยู่ส่วนตัวในการดำรงชีวิตระดับที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือรำคาญใจ ซึ่งมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญ ได้รับรองว่าบุคคลมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ผู้ใดจะรุกล้ำความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นมิได้

ร้องเรียนร้องทุกข์

Map

Poll

ท่านมีความพึงพอใจการให้บริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ ในด้านใด มากที่สุด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ