ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง
ตำบลหนองบ่อ อยู่ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามถนนแจ้งสนิท หลักกิโลเมตรที่ 9 บ้านหนองแก ผ่านบ้านทุ่งขุนน้อย ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี หรือหลักกิโลเมตรที่ 13 บ้านหนองไฮ ผ่านบ้านเชือก ตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี เข้าสู่เขตตำบลหนองบ่อ ระยะทาง ประมาณ 20 กม.
เนื้อที่
ตำบลหนองบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 48,750 ไร่ หรือประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอกัณทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ประชากร
จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลหนองบ่อ มีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,641 คน แยกเป็นชาย 3,748 คน หญิง 3,893 คน จำนวนครัวเรือน 1,761 หลังคาเรือน
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ประชากร | ครัวเรือน |
---|---|---|---|
1 | หนองบ่อ | 672 | 207 |
2 | หนองบ่อ | 399 | 155 |
3 | หนองบ่อ | 664 | 155 |
4 | หนองบ่อ | 874 | 284 |
5 | มะเขือ | 589 | 314 |
6 | โพนงาม | 797 | 278 |
7 | โพนงาม | 930 | 308 |
8 | ดงบัง | 1,181 | 408 |
9 | ดงบัง | 499 | 170 |
10 | จานตะโนน | 623 | 239 |
11 | จานตะโนน | 344 | 337 |
12 | สำลาก | 565 | 253 |
13 | ท่าสนามชัย | 654 | 259 |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2561)
อาชีพ
อาชีพหลักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน ปลูกพืชส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว ตลอดจนเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป หัตถกรรมในครัวเรือน
หน่วยธุรกิจ
- ปั๊มน้ำมันหลอด 59 แห่ง
- โรงสีข้าว 8 แห่ง
- สถานที่ท่องเที่ยว 2 แห่ง
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 10 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 11 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) 5 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 21 แห่ง
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง
- ศูนย์สงเคราะห์ราษฎร 21 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 20 แห่ง
สาธารณสุข
- สถานีอนามัย 2 แห่ง
- อัตราการมี และการใช้ส้วมราดน้ำ 100%
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 แห่ง
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอนุญาตเอกชน 1 แห่ง
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 10 แห่ง
การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าเข้าถึง 21 หมู่บ้าน ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ/ลำห้วย 15 สาย
- บึง/หนองน้ำและอื่น 6 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 12 แห่ง
- บ่อโยก 1 แห่ง
มวลชนจัดตั้ง
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 2 รุ่น
ช่องทางการติดต่อ
ติดต่อ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000. โทร 045-840312 โทรสาร 045-840312 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ถาม-ตอบ Q&A
- ถาม : เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกวันไหนค่ะ ?
- ตอบ : ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือนคะ
- ถาม : ชำระภาษีโรงเรือนช่วงพักเที่ยงได้ไหมครับ ?
- ตอบ : ได้ค่ะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ไม่พักกลางวันค่ะ
- ถาม : สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้รึยังค่ะ ?
- ตอบ : เปิดให้บริการแล้วคะ
- ถาม : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Service) คืออะไร ?
- ตอบ : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ คือ การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหน่วยงานจัดว่าเป็นระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ครอบคลุมถึงการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอกหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร และมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานท่านหรือไม่
ประวัติความเป็นมา
https://nong-bo.go.th/operational-manual/itemlist/category/20-about-us#sigProGalleria3d4fa3e4b8
ตำบลหนองบ่อ ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองบ่อ บ้านโพนงาม บ้านดงบัง บ้านจานตะโนน บ้านมะเขือ บ้านสำลาก และบ้านท่าสนามชัย
ตามความเชื่อของประชาชนตำบลหนองบ่อ ก็เชื่อว่าบรรพบุรุษมาจากลูกหลานของพระตา พระวอ ซึ่งอพยพมาจากนครเวียงจันทน์ เมื่อมาตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบ่อก็มีผู้ให้ข้อมูลโดยแบ่งเป็นหลายสันนิษฐานเป็นต้นว่า
สันนิษฐานที่ 1 ประชาชนกลุ่มหนึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านแคบริเวณที่เป็นวัดเก่าบ้านแคซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านดงบังในปัจจุบัน เมื่อเกิดโรคระบาดจึงอพยพไปหลายทาง ประชาชนพวกหนึ่งไปทางทิศเหนือไปตั้งบ้านตากแดดบริเวณวัดป่าอารามบ้านโพนงามในปัจจุบันแล้วต่อมาย้ายไปตั้งบ้านโพนงาม พวกหนึ่งไปทางด้านทิศตะวันออกไปตั้งบ้านดงบัง อีกพวกหนึ่งไปทางทิศตะวันตก ไปตั้งบ้านหนองบ่v
สันนิษฐานที่ 2 ประชาชนกลุ่มหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านแคแล้วอพยพไปอยู่บ้านตากแดด ต่อมาประชาชนที่อยู่บ้านตากแดดเกิดโรคระบาดขึ้น จึงมีการแยกย้ายถิ่นฐานโดยแบ่งแยกออกเป็น 3 พวก พวกหนึ่งจะไปทางด้านทิศเหนือไปตั้งบ้านโพนงาม พวกหนึ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปตั้งบ้านดงบัง และอีกพวกหนึ่งไปทางด้านทิศตะวันตก ไปตั้งบ้านหนองบ่อ
สันนิษฐานที่ 3 ประชาชนกลุ่มหนึ่งตั้งอยู่ที่บ้านแค เมื่อเกิดโรคระบาดจึงย้ายไปตั้งบ้านใหม่ที่บ้านดงบัง ประชาชนกลุ่มหนึ่งอยู่ที่บ้านตากแดด เมื่อเกอดโรคระบาดพวกหนึ่งอพยพไปทางด้านทิศเหนือไปตั้งบ้านโพนงาม อีกพวกหนึ่งอพยพไปทางด้านทิศตะวันตกไปตั้งบ้านหนองบ่อ
สันนิษฐานที่ 4 อุดร บุญสิงห์ ได้กล่าวว่า ประชาชนชาวตำบลหนองบ่อทั้งหมดมาตั้งบ้านอยู่รวมกัน คือบ้านตากแดด เมื่อเกิดโรคระบาดจึงย้ายไปอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านจานตะโนน ประชาชนกลุ่มที่เป็นชาวบ้านจานตะโนนจะมาตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เรียกว่า ดงบ้านโนน อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านจะมีซากปรักหักพังของสิม (โบสถ์)เมื่อเกิดโรคระบาดจึงอพยพไปตั้งบ้านใหม่ที่บ้านจานตะโนนในปัจจุบัน
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านมะเขือ ตามเอกสารประวัติมหาดไทย อำเภอเมืองอุบลราชธานี ตอนที่ 1 ประวัติตำบลและหมู่บ้าน กล่าวว่าประชาชนบ้านมะเขือย้ายมาจากบ้านบาก(อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านปัจจุบัน)ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านมะเขือซึ่งเป็นที่สาธารณะมีซากปรักหักพังของสิม(โบสถ์)แต่ไม่มีหลักฐานใดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนบ้านมะเขือในปัจจุบัน
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านสำลาก ตามเอกสารประวัติมหาดไทย อำเภอเมืองอุบลราชธานี ตอนที่ 1 ประวัติตำบลและหมู่บ้าน ประชาชนบ้านสำลากได้อพยพมาจากบ้านโนนกุดจอก ในเขตตำบลหนองบ่อทางทิศตะวันออกของบ้านสำลากซึ่งเป็นที่สาธารณะมีซากปรักหักพังของสิม(โบสถ์)ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งวัดของชาวบ้านสำลากก่อนที่จะย้ายมาอยู่ในที่บัจจุบัน
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านท่าสนามชัย ประชาชนบ้านท่าสนามชัย แยกมาจากบ้านสำลาก ตั้งชื่อหมู่บ้านเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร)
ความเป็นมาการตั้งหมู่บ้านตำบลหนองบ่อ ซึ่งจะเป็นด้วยสันนิษฐานที่ได้กล่าวถึง หรือจะเป็นสันนิษฐานอื่นก็ต้องมีการพิสูจน์ตามหลักวิชาการ เช่น การพิสูจน์อายุของอิฐจากซากปรักหักพังของสิมหรือโบสถ์เก่าที่มีเกือบจะทุกหมู่บ้าน คือ บ้านโพนงาม บ้านดงบัง บ้านจานตะโนน บ้านมะเขือ และบ้านสำลากถ้ามีการพิสูจน์ทราบว่าอิฐมีอายุที่แตกต่างกันหรือมีอายุที่เท่ากันก็จะสามารถใช้สันนิษฐานเพื่อประกอบการพิจารณาในการตั้งหมู่บ้านได้
คณะผู้จัดทำเอกสารได้ไปสำรวจข้อมูลในหมู่บ้านใกล้เคียงกับตำบลหนองบ่อก็พบว่า ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหวาง ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลี่ชธานี (บ้านหวางอยู่ห่างจากบ้านหนองบ่อ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร) มีที่ตั้งวัดเก่าริมฝั่งแม่น้ำชีเรียกว่าวัดท่าแจ้ง มีซากปรักหักพังของสิมหรือโบสจากวัดเก่าท่าแจ้งห่างไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็เป็นวัดเก่าท่าเค็งใกล้กับบ้านท่าศาลา ซึ่งมีซากปรักหักพังของสิมหรือโบสถ์และตั้งอยู๋ริมฝั่งแม่น้ำชีเช่นเดียวกัน แสดงว่าชุมชนในเขตตำบลหนองบ่อ และชุมชนใกล้เคียงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าสนใจ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ สิมหรือโบสถ์เก่าที่สามารถพิสูจลำดับของประวัติศาสตร์ได้ จึงเป็นที่ท้าทายของนักประวัติศาสตร์ได้ จึงเป็นที่ท้าทายของนักประวัติศาสตร์ที่จะศึกษาค้นคว้าให้กระจ่างต่อไป
ตำบลหนองบ่อ ตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในเขตตำบล ตั้งขึ้นเมื่อใจไม่ปรากฎหลักฐาน คราวแรกตำบลหนองบ่อขึ้นกับอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2485 จึงได้โอนมาขึ้นกับอำเภอเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันตำบลหนองบ่อ เป็น 1 ใน 11 ตำบล ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
"พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจดี ประชาชนมีสุขร่วมกัน"
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- ก่อสร้าง บำรุงรักษาและพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภคสาธารณูปโภค พัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่ได้มาตรฐาน
- ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ทักษะและพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น สนับสนุนและพัฒนางานการสาธารณสุข สวัสดิการสังคม และสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน
- สนับสนุนและพัฒนางานด้านการศึกษาได้เพียงพอ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมการกีฬา ส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการกีฬา ส่งเสริมการปฏิบัติงานของ อปพร. ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัย
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณแก่ประชาชน จัดเก็บภาษีปรับปรุงระบบภาษีให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน
- กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ในชุมชนอย่างอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน
เป้าประสงค์ (Goal)
เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)
- ก่อสร้างทางคมนาคม ทั้งทางบก และทางน้ําให้สะดวกรวดเร็ว และมี สาธารณูปโภคที่สมบูรณ์
- ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชนให้เป็นระบบมีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ให้เกษตรกรทําการเกษตรแบบปลอดสารพิษด้วยจุลินทรีย์และสารสมุนไพร
- สร้างสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพประชาชนให้แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคติดต่อ ร้ายแรง
- ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของท้องถิ่น
- พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แบบยั่งยืน
- ป้องกันและรักษาไว้ซึ่งที่สาธารณประโยชน์ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- ดําเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดําเนินงานใน องค์กรในการบริการประชาชน