Hot News :
Super User

Super User

วันจันทร์, 01 มิถุนายน 2563 14:40

ความรู้เรื่อง โรคอุจจาระร่วง

 

โรคอุจจาระร่วง (Diarrhoeal Diseases)

 โรคอุจจาระร่วง (Diarrhoeal Diseases) หมายถึง โรคที่ทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะเหลวหรือเป็นน้ำเกินกว่า ครั้ง/วัน หรือมีการถ่ายอุจจาระที่มีเลือดปนอย่างน้อย ครั้ง/วัน และหากมีการถ่ายอุจจาระ ในลักษณะดังกล่าวนานเกิน สัปดาห์ ถือว่าเป็นโรคอุจจาระร่วงแบบเรื้อรัง ทั้งนี้การถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง  แต่อุจจาระเป็นปกติไม่ถือว่าเป็นโรคอุจจาระร่วง

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิในลำไส้ จากการรับประทานอาหาร และน้ำไม่สะอาด การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหาร และภาชนะสกปรก มีเชื้อโรคปะปน อันตรายจากโรคอุจจาระร่วงทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายอุจจาระจำนวนมาก จนอาจทำให้ช็อก หมดสติ และถึงแก่ความตายได้ โดยเฉพาะในเด็ก

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นาน 1-6 วัน หากอุจจาระร่วงจากอาหารเป็นพิษ มักมีอาการปวดท้องร่วมกับถ่ายอุจจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว โรคอุจจาระร่วงจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ในทารกและเด็กเล็ก ๆ อาจมีไข้ต่ำ เป็นหวัด มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายอุจจาระเหลวตามมา

วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอาการอุจจาระร่วงที่บ้าน รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายมากกว่าปกติ และดื่มเกลือแร่สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โออาร์เอส น้ำแกงจืด หรือนำข้าวใส่เกลือ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ส่วนการดูแลเด็ก  เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ให้ลูกกินนมแม่มากขึ้น เด็กที่กินนมผสม ให้ผสมนมตามปกติแล้วให้กินครึ่งหนึ่ง สลับกับสารละลาย น้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส ในปริมาณเท่ากับนมที่เคยกินตามปกติ ส่วนในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปให้อาหารเหลวที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ปลาต้ม เนื้อสัตว์ต้มเปื่อย เป็นต้นค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก หรือถ่ายเหลวหลายครั้งอาเจียนบ่อย รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ มีไข้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ อ่อนเพลียมาก ตาลึกโหล่ ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยุดถ่ายเพราะยาหยุดถ่ายทำให้ลำไส้เก็บกับเชื้อโรคไว้นานขึ้น

ารป้องกันตนเองจากโรคอุจจาระหรือโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ทั้งหมดเป็นโรคที่ประชาชนสามารถป้องกันได้ด้วยการช่วยกันดูแลสุขอนามัย ในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งและหลังทำกิจกรรม รวมถึงเลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ และได้รับการรับรองจาก จาก อย. ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก ๆ ให้สะอาดทั่วถึง ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำต้มสุก หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็น ส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ หรือค้างคืน ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานควรอุ่นให้ร้อน ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำและหลังจากสัมผัสจากสิ่งต่าง ๆ ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่น ๆ ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร ล้างภาชนะ และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารก

เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากโรคอุจจาระหรือโรคติดต่อทางอาหารและน้ำก็จะปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วง

 

จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบ

โดย...จ่าสิบเอกหญิงพเยาว์  ศรีจำปา หน.สำนักปลัด  อบต.หนองบ่อ

วันจันทร์, 11 พฤษภาคม 2563 14:17

ความรู้เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่

 

โรคไข้หวัดใหญ่ (INFLUENZA)

 

โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ มีการระบาดเป็นครั้งคราวเกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โรคนี้มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากกว่า

สาเหตุ – เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งอยู่ในน้ำมูกและเสมหะของผู้ป่วย ระยะฟักตัว ประมาณ 1-3 วัน

การติดต่อ – การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ระหว่างผู้ใกล้ชิดที่อยู่ในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น โรงมหรสพ ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก รถโดยสาร และอาคารบ้านเรือนที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไข้หวัดใหญ่ ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยตรงจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสในฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย ที่ฟุ้งกระจายใน อากาศจากการไอ จามรดกัน เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูกและปาก หรือติดต่อทางอ้อมโดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับ มือ ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ฯลฯ ที่ปนเปื้อน น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยแล้วสัมผัสถูกตาหรือจมูก ไข้หวัดใหญ่ สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งได้มากช่วง 3 – 7 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ

อาการ – หลังจากได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกายประมาณ 1 – 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงเฉียบพลัน (โดยทั่วไปประมาณ 38-39 องศาเซลเซียส) หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ๆ คอแห้ง เจ็บคอ อาจมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือมีเสมหะมาก และตาแดง ตาแฉะตามมา โดยทั่วไปผู้ป่วย เด็กมักมีไข้สูงกว่าผู้ใหญ่ อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนและอุจาระร่วงได้ ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ส่วนมากมีอาการ รุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดาโดยทั่วไป มักมีอาการดีขึ้นภายใน 5 วันหลังป่วย และหายเป็นปกติ ภายใน 7 – 10 วัน

โรคแทรกซ้อน – ผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ อาจเกิด ภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ได้มากกว่าคนอื่น ๆ และอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษา – ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น การให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทันทีหลังจากที่มีอาการช่วยลดความรุนแรงและอัตราตายในผู้ป่วย ยาต้านไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) และซานามิเวียร์ (Zanamivir) การพิจารณาเลือกใช้ตัวไหน ขึ้นอยู่กับข้อมูลความไวของยาต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในแต่ละประเทศ

ข้อบ่งชี้ของการใช้ยาต้านไวรัส

  1. ผู้ป่วยที่ยืนยันหรือสงสัยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรง หรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  2. ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงที่ยืนยันหรือสงสัยไข้หวัดใหญ่
  3. อาจพิจารณาให้ยาในผู้ป่วยที่ยืนยันหรือสงสัยไข้หวัดใหญ่ที่อาการไม่รุนแรง และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงป่วย รุนแรง ถ้าสามารถให้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ ยาโอเซลทามิเวียร์สามารถพิจารณาใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีได้ถ้ามีข้อบ่งชี้ นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาจมี การดื้อยาได้ตลอดเวลา ดังนั้นในแต่ละแห่งควรมีข้อมูลความไวของยาและการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านไวรัส

การป้องกันโรค

  1. รักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้ดี โดยการออกกำลังกาย สม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงความเครียด บุหรี่ สุราและยาเสพติด และระวังรักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวเย็น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก และผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินเพียงพอ
  3. ระมัดระวังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และช่วงอากาศเย็น ซึ่งมักมีการ แพร่กระจายโรคได้มากขึ้น โดย
    • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดมาก และอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
    • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
    • ไม่ใช้แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะสิ่งของผู้ป่วย
    • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ แต่ช่วยป้องกันการแพร่และการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
  4. ปัจจุบันยังไม่แนะนำการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประชาชนทั่วไป แต่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคปอด โรคหัวใจเรื้อรังที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ หรือจะไปอยู่ในประเทศเขตหนาวเป็นเวลานาน อาจปรึกษาแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ล่วงหน้า
  5. ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ควรระมัดระวังไม่แพร่เชื้อโดยระวังการไอหรือจามรดผู้อื่น และใช้ผ้าปิดปากทุก ครั้งเมื่อไอหรือจาม หรือหากทำได้ควรสวมหน้ากากอนามัยและไม่คลุกคลีกับผู้อื่น

กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งควรได้รับการฉีดวัคซีน

  1. บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
  2. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมี บำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ)
  3. บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  4. หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  5. ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป
  6. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  7. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี

คำแนะนำ ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

สถานศึกษาเป็นแหล่งชุมชนกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นแหล่งของการแพร่กระจายเชื้อโรค ไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นสำนักอนามัยขอให้คำแนะนำมาตรการป้องกันควบคุมโรคของโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานศึกษา ดังนี้

  1. ควรจัดให้มีระบบการคัดกรองเด็กป่วย วิธีการที่ใช้ในการคัดกรองเด็กขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละวัย ลักษณะของโรงเรียน และการจัดกิจกรรมในช่วงเช้าของโรงเรียน โดยการคัดกรองจะพิจารณาทั้งอาการไข้ ไอมีน้ำมูก หากพบว่าเด็ก มีอาการเข้าได้กับไข้หวัดใหญ่ เช่น มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้โรงเรียนทำการคัดแยกเด็ก ใส่หน้ากากอนามัยให้กับเด็ก ให้นักเรียนที่ป่วยพักในสถานที่จัดเตรียมไว้ และติดต่อให้ผู้ปกครองมารับกลับไปพักฟื้นที่บ้าน อนึ่ง โรงเรียนควรให้ คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านกับเด็กนักเรียน และผู้ปกครองด้วย
  2. หากพบว่ามีนักเรียน หรือนิสิต นักศึกษาป่วย ควรพิจารณาปิด/เปิดสถานศึกษาเพื่อการชะลอการระบาด ของโรคและการแพร่กระจายเชื้อ โดยใช้ดุลยพินิจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษารวมทั้งเครือข่ายผู้ปกครอง ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มี ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น หยุดเรียนและพักผ่อนที่บ้านหรือหอพัก (หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง)
  3. โรงเรียนควรทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน ให้ผู้ปกครองและนักเรียนเข้าใจความจำเป็น ที่จะต้องให้นักเรียนที่ป่วยหยุดเรียน

วิธีการจัดการภายในโรงเรียน

  1. โรงเรียนควรจัดเตรียมจุดล้างมือให้พร้อม (น้ำพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์) โดยเฉพาะ ในห้องน้ำและโรงอาหาร พร้อมทั้งอธิบายวิธีการล้างมือให้แก่นักเรียน และกระตุ้นให้นักเรียนล้างมือฟอกสบู่เหลว เป็นประจำหลังสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
  2. ให้มีการเรียนการสอนบริเวณที่เปิดกว้าง ลมธรรมชาติสามารถผ่านได้สะดวก ไม่แนะนำให้อยู่ ในห้องปรับอากาศ
  3. มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัส เช่น ราวบันได เครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ จุดตู้น้ำดื่ม เป็นประจำ และให้ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปถี่ขึ้น ในช่วง ก่อนเข้าเรียน พักกลางวัน และช่วงเลิกเรียน
  4. มีการจัดเตรียมหน้ากากอนามัยไว้ ณ ห้องพยาบาล เพื่อให้สามารถหยิบใส่ให้กับนักเรียน ที่มีอาการไข้ ไอ จาม ได้สะดวก และมีการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนที่มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ให้ใส่หน้ากากอนามัย และแจ้งกับครูเพื่อให้ครูติดต่อให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน
  5. โรงเรียนควรจัดทำคำแนะนำและโปสเตอร์ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เห็นและเข้าใจ เจตนารมณ์ และนโยบายของสถานศึกษาในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมไข้หวัดใหญ่
  6. โรงเรียนควรส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างจริงจังและสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  7. ให้นักเรียนพกแก้วน้ำและช้อนรับประทานอาหารเป็นของตนเอง หากต้องรับประทานอาหาร ร่วมกันให้ใช้ช้อนกลาง สำหรับจุดบริการน้ำดื่มสาธารณะ ควรใช้แก้วน้ำชนิดที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  8. หากโรงเรียนมีรถโรงเรียน ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยไว้ในรถ เพื่อให้นักเรียนที่มีอาการไอ จาม หรือเป็นหวัด สวมใส่เวลานั่งในรถโรงเรียน และควรมีการทำความสะอาดภายในรถโรงเรียนเป็นประจำ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเป็นประจำสม่ำเสมอในเรื่องการดูแลและการป้องกันตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง และแนะนำให้นักเรียนล้างมือก่อนกลับบ้าน
  9. ประสานกับหัวหน้ากลุ่มงานในพื้นที่ในสังกัดองค์กรที่มีสถานศึกษา ในการเฝ้าระวังการ ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับสถานศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพ เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนกลาง
  10. จัดให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ฝึกอบรมสัมมนาการศึกษาและสร้างวิทยากร เพื่อให้ ความรู้แก่บุคลากรและนักเรียน นิสิตนักศึกษาในสถานศึกษา เปิดศูนย์ข้อมูลข่าวสารและให้ความรู้ในการเฝ้าระวัง การระบาดโรคไข้หวัดใหญ่

วิธีการกำจัดหน้ากากอนามัยใช้แล้ว

  1. คำแนะนำในการกำจัดหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชูปิดปาก ปิดจมูกส้าหรับ นักเรียน ประชาชน หรือบุคคลทั่วไป (เฉพาะรายบุคคล) การกำจัดหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชู ปิดปาก ปิดจมูกที่ใช้แล้ว ควรกำจัดโดยการนำหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชู ปิดปาก ปิดจมูกที่ใช้แล้ว ใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่นแล้วทิ้งในถังขยะทั่วไป
  2. คำแนะนำในการกำจัดหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชูปิดปากปิดจมูกสำหรับ สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากควรมีการแยกถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยหรือผ้า หรือกระดาษทิชชูปิดปากปิดจมูก โดยเฉพาะโดยลักษณะของถังขยะควรมีถุงพลาสติกรองรับด้านในอีก 1 ชั้น และมีสติ๊กเกอร์ หรือข้อความระบุเป็น “ถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัย หรือผ้าปิดปาก ปิดจมูกที่ใช้แล้ว” ติดไว้ที่ถังขยะให้ชัดเจน
  3. มาตรการในการกำจัดหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชู ปิดปากปิดจมูกสำหรับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีหน้ากากอนามัยหรือผ้า หรือกระดาษทิชชูปิดปากปิดจมูกที่ใช้แล้วจากโรงพยาบาล ให้ใช้วิธีกำจัดเช่นเดียวการกำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาล โดยใช้ถุงพลาสติกสีแดงที่กันรั่ว ต้องติดเครื่องหมาย สัญลักษณ์ชีวสากลพร้อมทั้งติดฉลากให้รู้ว่าเป็นขยะติดเชื้อ ต้องเก็บรวบรวมไว้ในพื้นที่เฉพาะกำจัดในเตาเผา เป็นต้น กรณีหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชูปิดปากปิดจมูกที่ใช้แล้วจากสถานศึกษา/ชุมชนให้มีการ แยกขยะโดยแยกใส่ถุงพลาสติกหรือแยกถังขยะมีป้ายหรือข้อความบอกชัดเจนว่าเป็นถัง/ถุงขยะหน้ากากอนามัย หรือผ้า หรือกระดาษทิชชู ปิดปากปิดจมูกที่ใช้แล้วมัดปากถุงให้แน่นแยกเก็บรวบรวมไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับขยะอื่น

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อาการจะทุเลาลง ตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน ยกเว้น บางรายอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดปอดบวม มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก และเสียชีวิตได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง (เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึม และพอรับประทานอาหารได้) สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ผู้ป่วยผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้ป่วย ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ผู้ป่วยควรหยุดเรียน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ และกลับเข้าเรียนได้เมื่อหายป่วยแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • แจ้งทางโรงเรียนทราบเพื่อจะได้ร่วมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานศึกษา และป้องกันควบคุมโรค ได้อย่างทันท่วงที
  • ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำ ของเภสัชกรหรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์
  • ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง
  • เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา (ไม่ควรใช้น้ำเย็น)
  • งดดื่มน้ำเย็นจัด
  • ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ
  • พยายามรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้เพียงพอ
  • นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • ป้องกันการแพร่ กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือ จาม ด้วยกระดาษทิชชู หรือแขนเสื้อของตนเอง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ หลีกเลี่ยง การคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ร่วมบ้านหรือร่วมห้อง (หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง) รับประทานอาหาร แยกจากผู้อื่น หรือใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำหลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานที่ยังไม่ป่วย

  • ควรติดตามสถานการณ์ การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และคำแนะนำต่างๆ จากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษา เป็นระยะ
  • แนะนำพฤติกรรมอนามัยให้แก่บุตรหลาน เช่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโดยการล้างมือด้วยน้ำ และสบู่บ่อยๆ การใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน การรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่
  • แนะนำให้เด็กหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
  • หากบุตรหลานของท่านมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อย ตามร่างกาย ให้ใช้กระดาษทิชชู ปิดปากและจมูก และทิ้งลงถังขยะ และขอให้แจ้งทางโรงเรียนทราบ เพื่อจะได้ร่วม เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานศึกษาและป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
  • ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นปกติเท่าที่จะเป็นไปได้ถึงแม้ว่าจะมีการปิดสถานศึกษา หรือมีการระบาดของโรค
  • หมั่นพูดคุยกับบุตรหลานให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ และตอบคำถามที่เด็กสงสัยเท่าที่เด็ก ในแต่ละวัยจะเข้าใจได้
  • หากเด็กมีความรู้สึกกลัวหรือกังวล ควรแนะนำให้ระบายความรู้สึกของตนเองออกมา และตอบคำถาม รวมทั้งปลอบโยนให้คลายกังวล
  • เด็กมักจะต้องการความรู้สึกปลอดภัยและความรัก หากบุตรหลานของท่านมีความกังวล ท่านควรให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ
  • ดูแลมิให้บุตรหลานของท่านหมกมุ่นกับข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่มากเกินไป จนเกิดความกลัวหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ 

จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบ

โดย...จ่าสิบเอกหญิงพเยาว์  ศรีจำปา หน.สำนักปลัด  อบต.หนองบ่อ

วันจันทร์, 04 พฤษภาคม 2563 13:29

ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย

=โรคไข้เลือดออกต้องระวังยุงชนิดไหน

ยุงลายเป็นพาหะตัวร้ายของโรคไข้เลือดออก ทางที่ดีที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น คือการป้องกันตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลาย ถ้ากำจัดลูกน้ำยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านได้จะยิ่งดี

=ยุงลายชอบกัดตอนไหน ช่วงไหนควรระวังพาหะไข้เลือดออก

ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการโปรตีนจากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็นช่วงเวลาอันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหน ๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะปลอดภัยกว่า

=อาการของ ไข้เลือดออก

อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ

 

1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 องศาเซลเซียส มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน

2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว

3. ตับโต

4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

 =ตับอักเสบจากไข้เลือดออก อีกหนึ่งอาการที่ต้องระวัง

อาการตับอักเสบอย่างรุนแรง สามารถพบได้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นกรณีที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายตับ หรือเกิดจากการที่ตับถูกทำลายเพราะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นหากมีอาการไข้เลือดออกแล้วก็ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหากเกิดอาการตับอักเสบจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที

= ลักษณะตุ่มไข้เลือดออก

ตุ่มโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับตุ่มยุงกัดทั่วตัว และใกล้เคียงกับผื่นจากโรคหัด แต่จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็นไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอหรือน้ำมูกไหล และจุดเลือดออกของโรคไข้เลือดออกจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนโรคหัด และเวลากดดึงผิวหนังให้ตึงจะไม่จางหายไปเหมือนจุดถูกยุงกัดธรรมดา ซึ่งถ้ามีอาการตามนี้ร่วมกับมีไข้สูงตลอดเวลา ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน

 =ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

ระยะฟักตัวของไข้เลือดออกจะอยู่ในช่วง 3-5 วัน และอาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

 ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง

ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัด ๆ

 ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก

อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้องบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความดันต่ำ ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก

 ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว

ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ โดยอาการจะดีขึ้นตามลำดับภายในช่วงระยะ 7-10 วันหลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 ของโรค

 การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ

ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลำชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาที และลองเอาเหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตําแหน่งที่ใช้เหรียญกดทับเป็นจํานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความเสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว

 

 =เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที

- เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้ำ กระหายน้ำตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย

 

-เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง

 

จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบ

โดย...จ่าสิบเอกหญิงพเยาว์  ศรีจำปา หน.สำนักปลัด  อบต.หนองบ่อ

วันจันทร์, 12 เมษายน 2564 11:51

เตือนภัยโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2564

โรคพิษสุนัขบ้า

เกิดจากเชื้อไวรัส รูปร่างคล้ายกระสุนปืน ถูกทำลายได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ความแห้ง แสงแดด ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีน แอลกอฮอล์ กรด หรือด่าง อย่างแรง เกิดในสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น  สุนัข  แมว วัว ควาย ลิง ชะนี กระรอก  กระแต เสือ หมี หนู ค้างคาว รวมทั้งคน แต่ในประเทศไทยพบมากที่สุดในสุนัข (96% ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ )รองลงมา คือ แมว

การติดต่อ โดยถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผล

ระยะฟักตัว 7 วัน ถึง 6 เดือน ขึ้นกับบริเวรที่ได้รับเชื้อ โดยเฉลี่ยประมาณ 2 – 6 สัปดาห์

จะทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด

1.ล้างแผล ด้วยสบู่กับน้ำหลาย ๆ ครั้ง เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผลถ้ามี เลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผลเพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น

2.ใส่ยาใส่แผล เช่น เบตาดิน ทิงเจอร์ ไอโอดีน แอลกอฮอล์ 70% จะช่วยฆ่าเชื้อโรค อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผลไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3-4 วัน ถ้าเลือดออกมามากหรือแผลใหญ่ควรเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อละบายไว้

3.กักหมา ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย ๑๕ วัน โดยให้น้ำและอาหารโดยปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์นั้นดุรายกัดหรือสัตว์อื่นหรือไม่สามารถกัดสัตว์ไว้ได้

 

4.หาหมอ รีบไปหาแพทย์หรือสัตวแพทย์ทันทีที่ถูกกัด เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซินหรือเซรั่มอย่ารอจนสัตว์ที่กัดตาย

จะป้องกันสุนัขบ้าได้อย่างไร

1.ไม่ปล่อยสุนัขเพ่นพ่าน สุนัขจรจัดที่อยู่ข้างถนนเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ อาจกัดคนที่เดินผ่านไปมาหรือกัดสุนัขอื่นทำให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

 

2.ฉีดวัคซินป้องกันทุกปีสุนัขจรเป็นหน้าที่ของเจ้าของสัตว์ (ตาม พรบ.โรคพิษสุนัขบ้า 2535) ที่จะต้องนำสุนัขอายุระหว่าง 2-4 เดือน ได้ไปรับการฉีดวัคซินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดซ้ำตามที่สัตวแพทย์กำหนด

จะป้องกันสุนัขบ้าได้อย่างไร

1.ไม่ปล่อยสุนัขเพ่นพ่าน สุนัขจรจัดที่อยู่ข้างถนนเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ อาจกัดคนที่เดินผ่านไปมาหรือกัดสุนัขอื่นทำให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

 

2.ฉีดวัคซินป้องกันทุกปีสุนัขจรเป็นหน้าที่ของเจ้าของสัตว์ (ตาม พรบ.โรคพิษสุนัขบ้า 2535) ที่จะต้องนำสุนัขอายุระหว่าง 2-4 เดือน ได้ไปรับการฉีดวัคซินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดซ้ำตามที่สัตวแพทย์กำหนด

 

 

จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบ

โดย...จ่าสิบเอกหญิงพเยาว์  ศรีจำปา หน.สำนักปลัด  อบต.หนองบ่อ

วันพุธ, 01 เมษายน 2563 11:21

เตือนภัยโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า

เกิดจากเชื้อไวรัส รูปร่างคล้ายกระสุนปืน ถูกทำลายได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ความแห้ง แสงแดด ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีน แอลกอฮอล์ กรด หรือด่าง อย่างแรง เกิดในสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น  สุนัข  แมว วัว ควาย ลิง ชะนี กระรอก  กระแต เสือ หมี หนู ค้างคาว รวมทั้งคน แต่ในประเทศไทยพบมากที่สุดในสุนัข (96% ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ )รองลงมา คือ แมว

การติดต่อ โดยถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผล

ระยะฟักตัว 7 วัน ถึง 6 เดือน ขึ้นกับบริเวรที่ได้รับเชื้อ โดยเฉลี่ยประมาณ 2 – 6 สัปดาห์

จะทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด

1.ล้างแผล ด้วยสบู่กับน้ำหลาย ๆ ครั้ง เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผลถ้ามี เลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผลเพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น

2.ใส่ยาใส่แผล เช่น เบตาดิน ทิงเจอร์ ไอโอดีน แอลกอฮอล์ 70% จะช่วยฆ่าเชื้อโรค อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผลไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3-4 วัน ถ้าเลือดออกมามากหรือแผลใหญ่ควรเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อละบายไว้

3.กักหมา ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย ๑๕ วัน โดยให้น้ำและอาหารโดยปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์นั้นดุรายกัดหรือสัตว์อื่นหรือไม่สามารถกัดสัตว์ไว้ได้

 

4.หาหมอ รีบไปหาแพทย์หรือสัตวแพทย์ทันทีที่ถูกกัด เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซินหรือเซรั่มอย่ารอจนสัตว์ที่กัดตาย

จะป้องกันสุนัขบ้าได้อย่างไร

1.ไม่ปล่อยสุนัขเพ่นพ่าน สุนัขจรจัดที่อยู่ข้างถนนเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ อาจกัดคนที่เดินผ่านไปมาหรือกัดสุนัขอื่นทำให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

 

2.ฉีดวัคซินป้องกันทุกปีสุนัขจรเป็นหน้าที่ของเจ้าของสัตว์ (ตาม พรบ.โรคพิษสุนัขบ้า 2535) ที่จะต้องนำสุนัขอายุระหว่าง 2-4 เดือน ได้ไปรับการฉีดวัคซินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดซ้ำตามที่สัตวแพทย์กำหนด

จะป้องกันสุนัขบ้าได้อย่างไร

1.ไม่ปล่อยสุนัขเพ่นพ่าน สุนัขจรจัดที่อยู่ข้างถนนเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ อาจกัดคนที่เดินผ่านไปมาหรือกัดสุนัขอื่นทำให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

 

2.ฉีดวัคซินป้องกันทุกปีสุนัขจรเป็นหน้าที่ของเจ้าของสัตว์ (ตาม พรบ.โรคพิษสุนัขบ้า 2535) ที่จะต้องนำสุนัขอายุระหว่าง 2-4 เดือน ได้ไปรับการฉีดวัคซินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดซ้ำตามที่สัตวแพทย์กำหนด

 

 

จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบ

โดย...จ่าสิบเอกหญิงพเยาว์  ศรีจำปา หน.สำนักปลัด  อบต.หนองบ่อ

ร้องเรียนร้องทุกข์

Map

Poll

ท่านมีความพึงพอใจการให้บริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ ในด้านใด มากที่สุด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ