Super User
ประวัติความเป็นมา
https://nong-bo.go.th/anti-corruption-assess-risk/itemlist/user/904-superuser?start=370#sigProGalleria3d4fa3e4b8
ตำบลหนองบ่อ ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองบ่อ บ้านโพนงาม บ้านดงบัง บ้านจานตะโนน บ้านมะเขือ บ้านสำลาก และบ้านท่าสนามชัย
ตามความเชื่อของประชาชนตำบลหนองบ่อ ก็เชื่อว่าบรรพบุรุษมาจากลูกหลานของพระตา พระวอ ซึ่งอพยพมาจากนครเวียงจันทน์ เมื่อมาตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบ่อก็มีผู้ให้ข้อมูลโดยแบ่งเป็นหลายสันนิษฐานเป็นต้นว่า
สันนิษฐานที่ 1 ประชาชนกลุ่มหนึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านแคบริเวณที่เป็นวัดเก่าบ้านแคซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านดงบังในปัจจุบัน เมื่อเกิดโรคระบาดจึงอพยพไปหลายทาง ประชาชนพวกหนึ่งไปทางทิศเหนือไปตั้งบ้านตากแดดบริเวณวัดป่าอารามบ้านโพนงามในปัจจุบันแล้วต่อมาย้ายไปตั้งบ้านโพนงาม พวกหนึ่งไปทางด้านทิศตะวันออกไปตั้งบ้านดงบัง อีกพวกหนึ่งไปทางทิศตะวันตก ไปตั้งบ้านหนองบ่v
สันนิษฐานที่ 2 ประชาชนกลุ่มหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านแคแล้วอพยพไปอยู่บ้านตากแดด ต่อมาประชาชนที่อยู่บ้านตากแดดเกิดโรคระบาดขึ้น จึงมีการแยกย้ายถิ่นฐานโดยแบ่งแยกออกเป็น 3 พวก พวกหนึ่งจะไปทางด้านทิศเหนือไปตั้งบ้านโพนงาม พวกหนึ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปตั้งบ้านดงบัง และอีกพวกหนึ่งไปทางด้านทิศตะวันตก ไปตั้งบ้านหนองบ่อ
สันนิษฐานที่ 3 ประชาชนกลุ่มหนึ่งตั้งอยู่ที่บ้านแค เมื่อเกิดโรคระบาดจึงย้ายไปตั้งบ้านใหม่ที่บ้านดงบัง ประชาชนกลุ่มหนึ่งอยู่ที่บ้านตากแดด เมื่อเกอดโรคระบาดพวกหนึ่งอพยพไปทางด้านทิศเหนือไปตั้งบ้านโพนงาม อีกพวกหนึ่งอพยพไปทางด้านทิศตะวันตกไปตั้งบ้านหนองบ่อ
สันนิษฐานที่ 4 อุดร บุญสิงห์ ได้กล่าวว่า ประชาชนชาวตำบลหนองบ่อทั้งหมดมาตั้งบ้านอยู่รวมกัน คือบ้านตากแดด เมื่อเกิดโรคระบาดจึงย้ายไปอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านจานตะโนน ประชาชนกลุ่มที่เป็นชาวบ้านจานตะโนนจะมาตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เรียกว่า ดงบ้านโนน อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านจะมีซากปรักหักพังของสิม (โบสถ์)เมื่อเกิดโรคระบาดจึงอพยพไปตั้งบ้านใหม่ที่บ้านจานตะโนนในปัจจุบัน
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านมะเขือ ตามเอกสารประวัติมหาดไทย อำเภอเมืองอุบลราชธานี ตอนที่ 1 ประวัติตำบลและหมู่บ้าน กล่าวว่าประชาชนบ้านมะเขือย้ายมาจากบ้านบาก(อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านปัจจุบัน)ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านมะเขือซึ่งเป็นที่สาธารณะมีซากปรักหักพังของสิม(โบสถ์)แต่ไม่มีหลักฐานใดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนบ้านมะเขือในปัจจุบัน
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านสำลาก ตามเอกสารประวัติมหาดไทย อำเภอเมืองอุบลราชธานี ตอนที่ 1 ประวัติตำบลและหมู่บ้าน ประชาชนบ้านสำลากได้อพยพมาจากบ้านโนนกุดจอก ในเขตตำบลหนองบ่อทางทิศตะวันออกของบ้านสำลากซึ่งเป็นที่สาธารณะมีซากปรักหักพังของสิม(โบสถ์)ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งวัดของชาวบ้านสำลากก่อนที่จะย้ายมาอยู่ในที่บัจจุบัน
สันนิษฐานที่เกี่ยวกับบ้านท่าสนามชัย ประชาชนบ้านท่าสนามชัย แยกมาจากบ้านสำลาก ตั้งชื่อหมู่บ้านเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร)
ความเป็นมาการตั้งหมู่บ้านตำบลหนองบ่อ ซึ่งจะเป็นด้วยสันนิษฐานที่ได้กล่าวถึง หรือจะเป็นสันนิษฐานอื่นก็ต้องมีการพิสูจน์ตามหลักวิชาการ เช่น การพิสูจน์อายุของอิฐจากซากปรักหักพังของสิมหรือโบสถ์เก่าที่มีเกือบจะทุกหมู่บ้าน คือ บ้านโพนงาม บ้านดงบัง บ้านจานตะโนน บ้านมะเขือ และบ้านสำลากถ้ามีการพิสูจน์ทราบว่าอิฐมีอายุที่แตกต่างกันหรือมีอายุที่เท่ากันก็จะสามารถใช้สันนิษฐานเพื่อประกอบการพิจารณาในการตั้งหมู่บ้านได้
คณะผู้จัดทำเอกสารได้ไปสำรวจข้อมูลในหมู่บ้านใกล้เคียงกับตำบลหนองบ่อก็พบว่า ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหวาง ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลี่ชธานี (บ้านหวางอยู่ห่างจากบ้านหนองบ่อ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร) มีที่ตั้งวัดเก่าริมฝั่งแม่น้ำชีเรียกว่าวัดท่าแจ้ง มีซากปรักหักพังของสิมหรือโบสจากวัดเก่าท่าแจ้งห่างไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็เป็นวัดเก่าท่าเค็งใกล้กับบ้านท่าศาลา ซึ่งมีซากปรักหักพังของสิมหรือโบสถ์และตั้งอยู๋ริมฝั่งแม่น้ำชีเช่นเดียวกัน แสดงว่าชุมชนในเขตตำบลหนองบ่อ และชุมชนใกล้เคียงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าสนใจ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ สิมหรือโบสถ์เก่าที่สามารถพิสูจลำดับของประวัติศาสตร์ได้ จึงเป็นที่ท้าทายของนักประวัติศาสตร์ได้ จึงเป็นที่ท้าทายของนักประวัติศาสตร์ที่จะศึกษาค้นคว้าให้กระจ่างต่อไป
ตำบลหนองบ่อ ตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในเขตตำบล ตั้งขึ้นเมื่อใจไม่ปรากฎหลักฐาน คราวแรกตำบลหนองบ่อขึ้นกับอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2485 จึงได้โอนมาขึ้นกับอำเภอเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันตำบลหนองบ่อ เป็น 1 ใน 11 ตำบล ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
- ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน
อัตราค่าปรับ
- ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
- ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี
- ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
- ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
- เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี
- เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี
- เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
อัตราภาษี
เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ
การอุทธรณ์การฟ้องศาล
- ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน
ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี
- ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
- ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน
- ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
อัตราภาษี
- ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน
- ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
- ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
- ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
- กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
- กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
- กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์
- กิจการที่เกี่ยวกับยา
- กิจการที่เกี่ยวกับไม้
- กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น
เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
- เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
อัตราโทษและค่าปรับ
- ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้
ติดต่อชำระภาษี
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000. โทร 045-840312 แฟกซ์ 045-840312 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"
ช่องทางการติดต่อ
ติดต่อ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000. โทร 045-840312 โทรสาร 045-840312 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
"พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจดี ประชาชนมีสุขร่วมกัน"
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- ก่อสร้าง บำรุงรักษาและพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภคสาธารณูปโภค พัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่ได้มาตรฐาน
- ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ทักษะและพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น สนับสนุนและพัฒนางานการสาธารณสุข สวัสดิการสังคม และสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน
- สนับสนุนและพัฒนางานด้านการศึกษาได้เพียงพอ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมการกีฬา ส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการกีฬา ส่งเสริมการปฏิบัติงานของ อปพร. ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัย
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณแก่ประชาชน จัดเก็บภาษีปรับปรุงระบบภาษีให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน
- กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ในชุมชนอย่างอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน
เป้าประสงค์ (Goal)
เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)
- ก่อสร้างทางคมนาคม ทั้งทางบก และทางน้ําให้สะดวกรวดเร็ว และมี สาธารณูปโภคที่สมบูรณ์
- ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชนให้เป็นระบบมีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ให้เกษตรกรทําการเกษตรแบบปลอดสารพิษด้วยจุลินทรีย์และสารสมุนไพร
- สร้างสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพประชาชนให้แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคติดต่อ ร้ายแรง
- ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของท้องถิ่น
- พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แบบยั่งยืน
- ป้องกันและรักษาไว้ซึ่งที่สาธารณประโยชน์ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- ดําเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดําเนินงานใน องค์กรในการบริการประชาชน
กองการศึกษา
นางสาวชลธิชา พรรณอินทร์
ผู้อำนวยการกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม
มือถือ 080-1734599
นางสาวสุกัญญา ทองประมูล
นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
นายสกลเกียรติ สุทธิกุล
ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา
นางสาวคณิฐา จันตรี
ผู้ดูแลเด็ก (ทั่วไป)
นางสาววนิดา ตระกาล
ผู้ดูแลเด็ก (ทั่วไป)
นางสาวณัฐธิยา ดอกดวง
ผู้ดูแลเด็ก (ทั่วไป)
นางสาวอนัทฉรา ส่งเสริม
ผู้ดูแลเด็ก (ทั่วไป)
นางสาวจินดาวรรณ ส่งเสริม
ผู้ดูแลเด็ก (ทั่วไป)
กองช่าง
นายพิชานนท์ ขจรฟุ้ง
ผู้อำนวยการกองช่าง
มือถือ 087-8783708
นายสุรชัย วรจักร์
นายช่างโยธาชำนาญงาน
นายณฐกร จันทร์ทรง
ผู้ช่วยนายช่างโยธา
นายพรเทพ หอมสมบัติ
ผู้ช่วยนายช่างเขียนแบบ
นายสุริยา บุญประสาร
คนงานทั่วไป (ปฏิบัติหน้าที่ช่างสำรวจ)
นายเสกสรรค์ ธานี
คนงานทั่้วไป (ประจำสถานีสูบน้ำ)
นายแถว ทิมา
คนงานทั่วไป (ประจำสถานีสูบน้ำ)
นายณัฐกุล จันตรี
คนงานทั่วไป (ประจำสถานีสูบน้ำ)
กองคลัง
นางสาวอรอุมา ศรีสวนจิก
ผู้อำนวยการกองคลัง
มือถือ 081-9669392
นางอัมพวัน วรจักร์
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
นางสาวปาริฉัตร กออ่อน
เจ้าพนักงานพัสดุชำนาญงาน
นางอนิจจญา สายพันธุ์
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ชำนาญงาน
นางสุดารัตน์ นวลศิริ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
นางลลิตา พุ่มแก้ว
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
นางพัชรี จันทร์พวง
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ
นางสุภาวดี จันทร์พวง
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
สำนักปลัด
นางอุไรวรรณ สงวนพิมพ์
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
รักษาราชการแทน หัวหน้าสำนักปลัด
มือถือ 089-4284316
นางสาวศศิธร พลภักดี
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
นายสาคร จันทร์เจริญ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
นายพรชัย ก้อนคำ
เจ้าพนักงานป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน
นางสาวศิริทรัพย์ รสหอม
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
- ว่าง -
เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
นายเอกชัย ธีระบัญชร
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน
นางสาวประนัดดา ยิ่งยง
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
นายถวัลย์ เพียรดี
นักการภารโรง
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายชัยรัฐ บุญถูก
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายณราชัย ดอกดวง
รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายถาวร ดีงาม
ปลัด/เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายพรชัย กองสาร์
ส.อบต. ม.1
นางชลธิชา หินผา
ส.อบต. ม.2
นางสุรีย์ สรรพสาร
ส.อบต. ม.3
นายชัยรัฐ บุญถูก
ส.อบต. ม.4
นางชบาภรณ์ จันทป
ส.อบต. ม.5
นายณราชัย ดอกดวง
ส.อบต. ม.6
นายสวาส จันทร์ทรง
ส.อบต. ม.7
นายณัฐพงศ์ ศรไชย
ส.อบต. ม.8
นางสาวมธุตฤณ บังศรี
ส.อบต. ม.9
นายมานิตย์ บุญห่อ
ส.อบต. ม.10
นางสาวอรไท แสงกล้า
ส.อบต. ม.11
นายสาคร ส่งเสริม
ส.อบต. ม.12
นายภิภัทร์ ทองก้อนเบ้า
ส.อบต. ม.13
ผู้บริหาร
นายพินิจ ส่งเสริม
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
โทร. 089-9467447
นายพิชัยศักดิ์ สายพันธุ์
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
โทร. 086-2439973
นายสนอง ส่งเสริม
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
โทร. 088-1100570
นายวิศิษฐ์ ทิมา
เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโทร. 082-4785903
นายถาวร ดีงาม
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 099-1798181
นางอุไรวรรณ สงวนพิมพ์
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 089-4284316