Print this page

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

     องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต

"พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจดี ประชาชนมีสุขร่วมกัน"

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  1. ก่อสร้าง บำรุงรักษาและพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภคสาธารณูปโภค พัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่ได้มาตรฐาน
  2. ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ทักษะและพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น สนับสนุนและพัฒนางานการสาธารณสุข สวัสดิการสังคม และสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน
  3. สนับสนุนและพัฒนางานด้านการศึกษาได้เพียงพอ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมการกีฬา ส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. สนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการกีฬา ส่งเสริมการปฏิบัติงานของ อปพร. ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัย
  5. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณแก่ประชาชน จัดเก็บภาษีปรับปรุงระบบภาษีให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน
  6. กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ในชุมชนอย่างอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน

 

เป้าประสงค์ (Goal)

     เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)

  1. ก่อสร้างทางคมนาคม ทั้งทางบก และทางน้ําให้สะดวกรวดเร็ว และมี สาธารณูปโภคที่สมบูรณ์
  2. ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น
  3. พัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชนให้เป็นระบบมีประสิทธิภาพและทันสมัย
  4. ให้เกษตรกรทําการเกษตรแบบปลอดสารพิษด้วยจุลินทรีย์และสารสมุนไพร
  5. สร้างสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพประชาชนให้แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคติดต่อ ร้ายแรง
  6. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของท้องถิ่น
  7. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แบบยั่งยืน
  8. ป้องกันและรักษาไว้ซึ่งที่สาธารณประโยชน์ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  9. ดําเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  10. ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
  11. นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดําเนินงานใน องค์กรในการบริการประชาชน